tải 68 game bàiLiên kết đăng nhập

tải 68 game bài

รวม 9 วิธีเช็กหาสาเหตุแผงโซลาร์เซลล์เสีย พร้อมวิธีแก้ไข ทำได้ยังไง?

  • Home
  • เกร็ดความรู้
  • รวม 9 วิธีเช็กหาสาเหตุแผงโซลาร์เซลล์เสีย พร้อมวิธีแก้ไข ทำได้ยังไง?
tải 68 game bàiLiên kết đăng nhập

รวม 9 วิธีเช็กหาสาเหตุแผงโซลาร์เซลล์เสีย พร้อมวิธีแก้ไข ทำได้ยังไง?

โซลาร์เซลล์คือตัวแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ช่วยผลิตพลังงานทดแทนได้เป็นอย่างดี แต่ก่อนซื้อโซลาร์เซลล์ ควรรู้วิธีตรวจสภาพของแผงโซลาร์เซลล์ก่อน เมื่อนำมาใช้งานก็ต้องรู้วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์เสียหรือผิดปกติ ว่าอาการเป็นอย่างไร รู้สาเหตุ จะได้ซ่อมได้ถูกวิธี

tải 68 game bàiLiên kết đăng nhập

วิธีเช็กดูสเปกของแผงโซลาร์เซลล์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

ก่อนจะตัดสินใจซื้อแผงโซลาเซลล์ จำเป็นต้องรู้วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อดูสเปกและรายละเอียดต่างๆ ซึ่งทำได้ง่ายๆ ดังนี้

ชนิด ชื่อรุ่น วันเดือนปีที่ผลิต

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์อันดับแรกคือการดูชนิด ชื่อรุ่น และวันเดือนปีที่ผลิต โดยดูได้จากบนเนมเพลทที่ติดมากับตัวแผง จะมีชื่อรุ่น หรือ Model No. แบรนด์ผู้ผลิต ชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ เช่น แผงโพลีคริสตัลไลน์ แผงโมโนคริสตัลไลน์ เป็นต้น เป็นการเช็กรายละเอียดเบื้องต้นก่อนตัดสินใจซื้อ

ค่ากำลังการผลิตไฟของแผง

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์ต่อมาคือการดูค่ากำลังการผลิตไฟของแผง ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Rated maximum power หรือ Pmax โดยเป็นค่าที่บอกว่าแผงโซลาร์เซลล์นี้มีกำลังการผลิตที่เท่าไร ที่ความเข้มแสง 1000W ต่อตารางเมตร ในอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งไว้เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการผลิตไฟของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละอัน

ค่าแรงดันสูงสุด

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์ถัดมาคือการดูค่าแรงดันสูงสุด ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Maximum power point voltage หรือ Vmp โดยเป็นค่าที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแผงโซลาร์เซลล์นั้นๆ ว่า สามารถทนต่อแรงดันกระแสไฟฟ้าสูงสุดได้ที่เท่าไร โดยถูกควบคุมโดยระบบอินเวอร์เตอร์อีกทีหนึ่ง

ขนาดและค่าความคลาดเคลื่อน

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์ต่อไปคือการดูขนาดและค่าความคลาดเคลื่อน โดยจะมีตัวเลขระบุขนาดความสูง ความกว้าง และความหนา รวมทั้งน้ำหนักโดยรวม ซึ่งปกติแผงโซลาร์เซลล์จะมีขนาด 2×1 เมตร น้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม ส่วนค่าความคลาดเคลื่อนจะเป็นค่ากำลังไฟค่าออก ซึ่งจะแสดงเป็นช่วงตัวเลข โดยค่าที่เหมาะสมควรจะเป็นบวก

ผลการทดสอบและการรับประกัน

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์อันดับต่อมาคือการดูผลการทดสอบและการรับประกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ช่วยให้คุณประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของแผงโซลาร์เซลล์นั้นๆ ได้ โดยการทดสอบอาจจะเป็นการทดสอบต่างๆ เช่น อุณหภูมิที่สามารถใช้งานได้ เป็นต้น และระบุการรับประกันเป็นระยะเวลาที่สามารถเคลมหรือซ่อมแซมได้

สัญลักษณ์รับรองมาตรฐาน

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์อันดับสุดท้ายคือการดูสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานจากสถาบันต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น ISO 9001/14001 Safety Class, TUV, CE, IEC ซึ่งแสดงถึงมาตรฐานการผลิต ประสิทธิภาพการใช้งาน และความปลอดภัย ซึ่งการันตีว่าแผงโซลาร์เซลล์นั้นๆ มีคุณภาพดี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างมั่นใจนั่นเอง

tải 68 game bàiLiên kết đăng nhập

รวม 9 สาเหตุโซลาร์เซลล์ทำงานผิดปกติ และวิธีตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์เสีย

หากแผงโซลาร์เซลล์เกิดขัดข้อง เสีย หรือไม่ทำงาน เรามีวิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์เสียจากสาเหตุต่างๆ เพื่อให้สามารถแก้ไขหรือซ่อมแซมได้ตรงจุด ดังนี้

1. อากาศไม่เอื้ออำนวย

อากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แผงโซลาร์เซลล์ทำงานได้ไม่เต็มที่หรือไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเกิดได้จากแสงแดดไม่เพียงพอ ฝนตก หรือมีต้นไม้สูงมาบัง ทำให้เกิดเงาบนแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลในการผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น

หากเช็กแผงโซลาร์เซลล์แล้วพบว่ามีกิ่งไม้มาบดบัง ให้ทำการตัดแต่งกิ่งไม้เหล่านั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์ให้ดียิ่งขึ้น

2. มีจุด Hot Spot

จุด Hot Spot บนแผงโซลาร์เซลล์คือ จุดความร้อนที่เกิดจากอุณหภูมิที่สูงมากเกินไป ซึ่งกระจุกตัวอยู่บริเวณหนึ่งบนแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเป็นอันตราย เพราะมีโอกาสทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ซึ่งการดับไฟที่เกิดจากแผงโซลาร์เซลล์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่สามารถใช้น้ำในการดับได้

หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ต้องหมั่นตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์อยู่เป็นประจำ และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดคราบสกปรกเกาะแน่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดจุด Hot Spot ได้

3. คราบสกปรกบนแผงโซลาร์เซลล์

หากพบว่าแผงโซลาร์เซลล์กระแสออกน้อย อาจเกิดได้จากมีคราบสกปรกเกาะแน่นอยู่บนแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจาก เมื่อใช้งานแผงโซลาร์เซลล์เป็นระยะเวลานาน ย่อมมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่มากมาย เช่น ขี้นก คราบฝุ่น เศษดิน เศษโคลน กิ่งไม้ ใบไม้ต่างๆ เป็นต้น

วิธีแก้ไขนั้นไม่ยาก คือต้องหมั่นทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์นั่นเอง โดยการฉีดน้ำสะอาดลงไปบนแผง หรือตามช่างซ่อมบำรุงมาช่วยตรวจเช็กและทำความสะอาดก็ได้เช่นกัน

4. แผงโซลาร์เซลล์มีคุณภาพต่ำ

เป็นปัญหาที่มักพบได้ในแผงโซลาร์เซลล์ที่มีราคาถูก คุณภาพจึงต่ำ ไม่ได้มาตรฐาน หากมีแรงกดทับหรือแรงกระแทกจากภายนอก หรือแผ่นกระจก อะลูมิเนียมที่ยึดกับขอบแผง หรือหากมีกระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่แผงจะรับได้ อาจเกิดการแตกปริ หรือ Micro Crack ขึ้นได้ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์ก่อนซื้อว่า มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานหรือไม่ มีสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองจากสถาบันต่างๆ ที่น่าเชื่อถือหรือเปล่า ผู้ผลิตมีชื่อเสียง หรือมีรีวิวจากลูกค้ารายอื่นที่ดีหรือไม่ มีการรับประกันสินค้าไหม ก็จะช่วยตัดปัญหาเหล่านี้ออกไปได้

5. รอยหอยทากบนแผงโซลาร์เซลล์

รอยหอยทากบนแผงโซลาร์เซลล์ หรือที่เรียกว่า Snail Trail นั้น เกิดจากความชื้นที่ทะลุผ่านเข้าสู่แผงโซลาร์เซลล์ ผ่านแผ่นรองแผงที่อยู่ด้านหลัง ทำให้ความชื้นกระจายตัวเข้าไปยังชั้นในของแผ่นฟิล์ม ซึ่งมีรอยคล้ายหอยทากเดินนั่นเอง

วิธีป้องกันการเกิดรอยหอยทากคือ การตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์ก่อนซื้อว่า วัสดุที่นำมาบุด้านหลังของแผงโซลาร์เซลล์สามารถกันความชื้นได้จริงหรือไม่ และเลือกซื้อแผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือเท่านั้น

6. ความต่างศักย์ระหว่างเซลล์และแผ่นกระจก

ความต่างศักย์ของส่วนประกอบแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ Potential Induced Degradation (PID) ไม่ว่าจะเป็นกระจก เซลล์ซิลิกอน หรือโครงกรอบยึดแผง เมื่อเกิดความต่างศักย์ขึ้นจะทำให้ประจุไอออนของโซเดียมเข้าไปฝังอยู่ในเซลล์ ส่งผลให้ประสิทธิภาพลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

ซึ่งแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ที่ทนต่อการเกิด PID ปรับปรุงการต่อสายดินและการออกแบบให้เหมาะสม หมั่นตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์อยู่เป็นประจำ

7. แผงโซลาร์เซลล์ผุพัง

การกัดกร่อนและการหลุดร่อนภายในแผงโซลาร์เซลล์ จนเกิดการผุพังและขึ้นสนิม เป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไป ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความทนทานของแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการสัมผัสความชื้นจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นเวลานาน

ดังนั้นจึงต้องเลือกวัสดุที่ทนทาน เป็นวัสดุห่อหุ้มและกาวคุณภาพสูง ที่จะสามารถป้องกันความชื้นเข้าไปภายในแผงโซลาร์เซลล์ได้  นอกจากนั้นยังต้องตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์และมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

8. อุปกรณ์ภายในมีปัญหา

หากแผงโซลาร์เซลล์กระแสไฟฟ้าออกไม่เต็มอาจเป็นไปได้ว่า อุปกรณ์ภายในมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นอินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ ชุดควบคุมประจุไฟฟ้า สายไฟต่างๆ อาจมีหนูหรือแมวมากัดสายไฟขาดได้ หรือมีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน และอาจถูกกัดกร่อนจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ

วิธีแก้ไขคือต้องคอยหมั่นตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์อยู่เสมอ ว่ายังทำงานได้ดีหรือไม่ มีอุปกรณ์หรือจุดเชื่อมต่อตรงไหนเสียหายหรือชำรุดหรือเปล่า หากมีก็ต้องรีบทำการเรียกช่างมาเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทันที

9. การติดตั้งไม่ได้คุณภาพ

วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์เสียข้อสุดท้าย อาจเกิดมาจากการติดตั้งที่ไม่ได้คุณภาพ จึงทำให้แผงโซลาร์เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยหรือไม่มีประสิทธิภาพ 

ซึ่งน่าจะเป็นข้อที่แก้ไขได้ยากที่สุด เพราะอาจจะต้องทำการติดตั้งใหม่ โดยการติดตั้งในประเทศไทยที่ดีจะต้องติดตั้งในทิศตะวันตก หรือตะวันตกเฉียงใต้ จึงจะรับแสงแดดได้ดีที่สุด และต้องมีความลาดเอียงที่เหมาะสมคือ 15-20 องศาอีกด้วย เพื่อให้ได้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ สามารถเลือกซื้อได้ที่ Chuphotic มีบริการแนะนำ ให้คำปรึกษาและติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ มีการรับประกันคุณภาพ และบริการหลังการขายที่ดี

tải 68 game bàiLiên kết đăng nhập

ดูแลแผงโซลาร์เซลล์ยังไง ให้ใช้งานได้นาน

หากคุณได้ทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องศึกษาวิธีการดูแลและตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์อย่างถูกวิธี ดังนี้

  • ตรวจเช็กแผงโซลาร์เซลล์อยู่เป็นประจำว่า อินเวอร์เตอร์มีไฟสีเขียวกะพริบหรือไม่ หากไม่มีอาจเป็นไปได้ว่ามีอุปกรณ์ภายในเสีย ขัดข้อง หรือไม่ทำงาน ให้เรียกช่างมาตรวจและซ่อมบำรุงทันที
  • คุณสามารถตรวจเช็กการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ผ่านจอแสดงผลติดผนังได้
  • บันทึกประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละวัน เพื่อปรับปรุงการบำรุงรักษาแผงโซลาร์เซลล์
  • ควรทำความสะอาดแผงโซลาร์เซลล์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรืออาจติดตั้งเครื่องทำความสะอาดอัตโนมัติที่ทำงานคล้ายกับระบบสปริงเกอร์ได้ หรือคุณจะเรียกบริษัทผู้ผลิตมาดูแลแทนก็ได้เช่นกัน
  • ไม่ควรล้างแผงโซลาร์เซลล์เมื่ออากาศร้อนจัด เพราะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงโดยกะทันหัน อาจทำให้เกิดรอยแตกร้าวบนแผงโซลาร์เซลล์ได้
  • หลีกเลี่ยงเครื่องมือทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและสารเคมี ไม่ควรใช้แปรงแข็งหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่อาจทำให้เป็นรอย ควรใช้ผ้า แปรงขนนุ่ม ไม้กวาดหุ้มยาง หรือเครื่องเป่าลมแทน

สรุป

ก่อนที่คุณจะซื้อแผงโซลาร์เซลล์มาติดตั้งไว้ที่บ้าน สำนักงาน หรืออาคารต่างๆ ควรจะต้องรู้วิธีตรวจเช็กสเปกแผงโซลาร์เซลล์ก่อน เพื่อให้ได้อุปกรณ์ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ดีและมีมาตรฐาน นอกจากนั้นเมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งแล้ว ก็ควรรู้วิธีเช็กแผงโซลาร์เซลล์เสียหรือมีปัญหาขัดข้องต่างๆ ว่ามีอาการแบบไหน สาเหตุมาจากอะไร เพื่อจะได้ทำการแก้ไขและซ่อมแซมได้ถูกจุด เพื่อให้ได้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีคุณภาพ สามารถเลือกซื้อได้ที่ Chuphotic ซึ่งที่นี่มีบริการแนะนำ ให้คำปรึกษา และติดตั้ง โดยผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ พร้อมมีการรับประกันสินค้า และบริการหลังการขายที่ดี

Leave A Reply

68 game bài đổi thưởng tải app 8xbet Đăng nhập qh88 bk8vietnam bk8 casino